เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์
เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย
การบริโภคสินค้าและบริการ หรือเป็นการศึกษากิจกรรมเศรษฐกิจของมนุษย์ในการเลือกหาแนวทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด
เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์
เศรษฐศาสตร์
หมายถึง
เศรษฐศาสตร์ หมายถึง ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์บารร์”เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด”
วิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็น
2 สาขา ได้แก่
เศรษฐศาสตร์จุลภาค
ซึ่งเป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล ครัวเรือน เป็นการศึกษาเฉพาะส่วนย่อย
ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง
ๆเศรษฐศาสตร์จุลภาคถือเป็นแนวทางหลักในการวิเคราะห์เศรษฐกิจอย่างเป็นระบบนอกจากนี้
เศรษฐศาสตร์จุลภาคยังวิเคราะห์ถึงโครงสร้างของตลาด เช่น
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดผูกขาด
เพื่อทราบถึงพฤติกรรมและประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ
เศรษฐศาสตร์มหภาค
เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับรวมหรือในระดับประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ
อัตราการจ้างงาน การธนาคาร การคลังเศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะพิจารณาระบบเศรษฐกิจในภาพรวมนอกจากนี้ยังคำนึงถึงปัจจัยต่าง
ๆ ที่มีผลกระทบต่อระดับความเติบโตในระยะยาวของรายได้ประชาชาติ อันได้แก่
การสะสมทุนการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และการขยายตัวของกำลังแรงงาน
สหกรณ์
สหกรณ์ (Cooperatives) คือองค์กรหนึ่งซึ่งมีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งขึ้นมาด้วยความสมัครใจภายใต้การปกครองตนเอง เพื่อตอบสนองความต้องการที่จำเป็นในชีวิต รวมทั้งความหวังทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมร่วมกัน โดยทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความรับผิดชอบต่อตนเอง และการช่วยตนเอง และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง
สหกรณ์จัดตั้งขึ้นมาอย่างไร?
– เกิดจากกลุ่มคนที่มีการรวมตัวกันจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์เท่านั้น
– โดยหลังจากผ่านการจดทะเบียนสหกรณ์เรียบร้อยแล้ว สหกรณ์นั้นๆ ก็จะกลายเป็นนิติบุคคล
– และสหกรณ์จัดเป็นนิติบุคคลที่อยู่ในภาคเอกชน ไม่ได้สังกัดในราชการส่วนใดๆทั้งสิ้น
สหกรณ์จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร?
– เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่กำลังประสบปัญหาต่างๆ ในลักษณะคล้ายๆ กันมารวมตัวกันเพื่อเป็นการช่วยกันแก้ไขปัญหาในอนาคตต่อไป
– เพื่อช่วยเหลือบุคคลทั่วไป โดยสหกรณ์จัดเป็นองค์การที่มีกฎหมายรองรับอยู่จึงปลอดภัย พร้อมทั้งมีส่วนราชการเข้าไปช่วยเหลือตามจำเป็นอีกด้วย
– มีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้ร่วมกันด้วยความยุติธรรม คือจะอยู่ในแบบที่บุคคลผู้เป็นสมาชิกเป็นผู้ใช้บริการและเป็นเจ้าของในขณะเดียวกันนั่นเอง
ประโยชน์ของสหกรณ์มีอะไรบ้าง?
– เป็นการฝึกให้บุคคลผู้เป็นสมาชิกสหกรณ์รู้จักพึ่งพาตนเอง ทั้งในด้านการซื้อ การขาย และที่ผลิตได้
– ช่วยให้เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม เพราะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน และทำให้บุคคลผู้ยากจนมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นได้ ซึ่งเป็นการนำพาให้ประเทศเจริญขึ้นได้อีกทางหนึ่ง
– มีแหล่งจัดหาเงินทุนเพื่อให้บุคคลผู้เป็นสมาชิกสหกรณ์ได้กู้ยืมไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือสิ่งจำเป็นต่างๆ โดยยุติธรรม
– มีการแนะนำและส่งเสริมให้บุคคลผู้เป็นสมาชิกสหกรณ์ได้มีความรู้ในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะด้านการเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งจะทำให้สมาชิกของสหกรณ์มีรายได้ที่สูงขึ้นตามไปด้วย
– ทำให้บุคคลผู้เป็นสมาชิกสหกรณ์ทุกคนต่างรู้สึกเท่าเทียมกัน เพราะทุกคนต่างมีสิทธิออกเสียง หรือแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยมีความเป็นประชาธิปไตยและเสมอภาคกัน
– ทำให้บุคคลผู้เป็นสมาชิกสหกรณ์มีชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากความรู้ เงินทุน และการผลิตแล้ว ยังทำให้รู้จักการประหยัดอดออมเพื่ออนาคตที่ดีในวันข้างหน้าอีกด้วย
ดังนั้น สหกรณ์จึงเรียกได้ว่าเป็นการก่อตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปอย่างแท้จริง ที่ทำให้ได้มีเงินทุนหมุนเวียนในการกู้ยืมโดยไม่ต้องเสียดอกเยอะ และมีความยุติธรรมแก่สมาชิกของสหกรณ์
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่
และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ
ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ
อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้
ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน
และการดำเนินการทุกขั้นตอน
และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต
และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา
และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้
เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย
ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.
2550-2554)เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน
เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า
สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10
นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์
หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
กรอบแนวคิด
เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น
โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย
และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ
เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม
ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
ความพอประมาณ
หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง
และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล
หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
เงื่อนไข
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น
ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
เงื่อนไขความรู้
ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน
และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม
ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต
และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ
/ ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล
และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น